อันตราย! เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หนึ่งในภาวะครรภ์เสี่ยง ที่เกิดจากฮอร์โมนของรกหรือสารเคมีที่ไปยับยั้งการทำงานของอินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด มักมีความสี่ยงในผู้ที่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน เคยคลอดลูกที่มีน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน คุณแม่ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากไม่ควบคุมอาจทำให้เกิดการช็อกได้ และอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้
อันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ความพิการแต่กำเนิด
ทารกเสี่ยงเสียชีวิตในครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น หัวใจโต ตัวเหลือง หายใจลำบาก ระดับน้ำตาล/แคลเซียม/แมกนีเซียมต่ำ
ทารกมีขนาดตัวโตมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการคลอดได้
แม่เสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ (Toxemia of pregnancy)
คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากเกิดภาวะน้ำคร่ำมากผิดปกติ
มีภาวะตกเลือดหลังคลอดมากขึ้น
อาจเกิดการแท้งบุตร
คุณแม่มีโอกาสเป็นเบาหวานซ้ำได้
คุณเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่?
ขณะตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป
อยู่ในภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักเกินเกณฑ์
มีประวัติบุคคลในครอบครัวญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
มีประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผิดปกติ
การแท้ง
ทารกตายในครรภ์
เคยคลอดบุตร น้ำนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
ภาวะความดันโลหิตสูง มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก ในระหว่างที่ตั้งครรภ์
อาการเตือนเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ปัสสาวะบ่อย
หิว/กระหายน้ำบ่อย
เหนื่อยง่าย
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายทั้งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่เกิดเป็นโรคเบาหวานในระหว่างที่ตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจเสี่ยงสูญเสียทารกในครรภ์ และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น ควรฝากครรภ์ทันทีเพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย ป้องกันความเสี่ยง พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ ควบคุมการรับประทานอาหาร การบริโภคน้ำตาล และของหวานอย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการมีบุตรก่อน และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด