ภาวะมีบุตรยาก

หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ทั้งที่ไม่ได้คุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ประมาณร้อยละ 15 ของคู่สมรส ในประเทศไทยมีประชาชนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 10 ล้านคู่ ดังนั้น จะมีคู่สมรสประมาณ 1.5 ล้านคู่ที่มีปัญหาดังกล่าว เราแบ่งภาวะมีบุตรยากออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ภาวะมีบุตรยากชนิดปฐมภูมิ คือ คู่สมรสดังกล่าวไม่เคยมีบุตรเลย

  2. ภาวะมีบุตรยากชนิดทุติยภูมิ คือ คู่สมรสดังกล่าวเคยมีบุตรมาแล้ว แต่ไม่สามารถมีอีก

การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ในฝ่ายชาย มีการสร้างเชื้ออสุจิที่ลูกอัณฑะ เชื้ออสุจิจะทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายชาย นำพาเอาลักษณะทางพันธุกรรมถ่ายทอดไปสู่บุตรต่อไป ส่วนฝ่ายหญิงประมาณกลางรอบระดูไข่จะสุกเต็มที่และเกิดการตกไข่รอบละหนึ่งใบ ในขณะเดียวกันเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการเจริญตัวหนาขึ้นจากการกระตุ้นของฮอร์โมนจากรังไข่ เพื่อเตรียมเป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อน ถ้าไข่กับเชื้ออสุจิไม่มีการปฏิสนธิกันในรอบนั้น ฮอร์โมนจากรังไข่จะลดระดับลงทำให้มีการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกกลายเป็นระดูออกมาทางช่องคลอด

เมื่อมีเพศสัมพันธ์เชื้ออสุจิว่ายผ่านมูกบริเวณปากมดลูก เข้าไปในโพรงมดลูกและหลอดมดลูก ถ้าขณะนั้นมีไข่ตกเข้ามาในหลอดมดลูกพอดี จะเกิดการปฏิสนธิระหว่างเชื้ออสุจิหนึ่งตัวกับไข่หนึ่งใบ และเกิดการแบ่งตัวกลายเป็นตัวอ่อนตัวอ่อนดังกล่าวจะค่อยๆเคลื่อนตามหลอดมดลูกเข้ามาในโพรงมดลูก มาฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกและเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป

ทำไมจึงเกิดภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก อาจเกิดจากฝ่ายชายร้อยละ 40 ฝ่ายชายร้อยละ 50 หรือทั้งสองฝ่ายร้อยละ 10

สาเหตุจากฝ่ายชาย อาจเกิดจาก

  • การสร้างเชื้ออสุจิที่ผิดปกติ

  • การขนส่งเชื้ออสุจิผิดปกติ

  • การมีเพศสัมพันธ์และการหลั่งน้ำเชื้อที่ผิดปกติ

  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความร้อน สารเคมี ความเครียดจากการทำงาน โรคประจำตัวทางร่างกายอื่นๆ

  • สาเหตุจากฝ่ายหญิง อาจเกิดจาก

- ความผิดปกติของการสร้างไข่ หรือการตกไข่

- ความผิดปกติของอุ้งเชิงกรานและหลอดมดลูก

- ความผิดปกติของปากมดลูกและมดลูก

- ความผิดปกติของช่องคลอด

  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ห่างเกินไป ความเครียด โรคประจำตัวทางร่างกายอื่นๆ

ทำอย่างไรจึงทราบถึงสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดทั้งฝ่ายชายและหญิง หลังจากนั้นจะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

การตรวจทางห้องปฏิบัติการของฝ่ายชาย

  • การตรวจเชื้ออสุจิ

  • การตรวจระดับฮอร์โมน

  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการของฝ่ายหญิง

  • การตรวจวัดอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกายเพื่อดูการตกไข่

  • การตรวจระดับฮฮร์โมน เพื่อค้นหาความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ และดูการทำงานของรังไข่

  • การฉีดสีและเอกซเรย์โพรงมดลูก หลอดมดลูกเพื่อดูว่ามีการตีบตันหรือรูปร่างผิดปกติหรือไม่

  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง โพรงมดลูก รังไข่และความผิดปกติอื่นในอุ้งเชิงกราน

  • การตรวจส่องกล้อง Laparoscope ในช่องท้องเพื่อดูพยาธิสภาพต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน และอาจผ่าเลาะผังผืดในอุ้งเชิงกรานในเวลาเดียวกันได้

  • การตรวจส่องกล้อง Hysteroscopy ในโพรงมดลูกเพื่อดูพยาธิสภาพต่างๆ ในโพรงมดลูก

เราสามารถแก้ไขภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร

  • การใช้ยารักษาตามสาเหตุที่พบ

  • การผ่าตัดแก้ไขในรายที่ท่อนำไข่อุดตัน เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ผังผืดในอุ้งเชิงกราน เส้นเลือดขอดที่ถุงอัณฑะ

  • การใช้ยาร่วมกับการผ่าตัดด้วยกล้อง Laparoscope ในบางราย อย่างไรก็ตามมีสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ หรือแก้ไขแล้วคู่สมรสก็ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่างๆ ช่วยเหลือคู่สมรสให้ตั้งครรภ์ ได้แก่

  • การผสมเทียม IUI

  • การทำกิ๊ฟ Gift

การปฏิสนธินอกรางกายได้แก่

  • การทำเด็กหลอดแก้ว IVF - ET

  • การทำพรอสท์ PROST

  • การทำเทสท์ TEST

  • การทำอิ๊คซี่ ICSI

  • การบริจาคไข่ ตัวอสุจิ ตัวอ่อน

  • การอุ้มบุญ